DataLyzer
OEE คืออะไร ?
OEE คืออะไร ?
OEE หมายถึงประสิทธิผลของอุปกรณ์โดยรวม มันคือเทคนิคที่ถูกใช้ในการลดจำนวนการหยุดของเครื่องจักในการผลิต OEE ได้ถูกอธิบายครั้งแรกโดยเป็นส่วนหลักของวิธีการในหัวข้อ TPM ในปี 1982 , TPM : Total Productive Maintenance คือหลักการที่ได้ถูกนำเสนอในปี 1971 โดย สถาบันบำรุงโรงงานของญี่ปุ่น การคำนวนหา OEE ไม่มีมาตรฐานว่าควรคำนวณอย่างไร ดังนั้นในการเริ่มต้นทำ OEE ต้องคุยกันก่อนถึงวิธีการคำนวณ เราแนะนำเว็บไซต์ http://www.oeeindustrystandard.org เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น
OEE calculation
กราฟต่อไปนี้แสดงวิธีการคำนวณที่แตกต่างกัน:
OEE ประกอบด้วย 3 ส่วน: โดย OEE = Availability*Performance*Quality หรืออธิบายในอีกแบบว่า ผลิตภัณฑ์ของดีที่ผลิตได้/จำนวนผลิตภัณฑ์ที่คาดหวังว่าจะผลิตได้ในช่วงเวลาผลิต สำหรับการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดกับเครื่องจะมีการกำหนดจำนวนผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะได้ (อัตราเครื่อง) ในระหว่างการผลิตระบบจะบันทึกเวลาหยุดเครื่องทั้งหมด เมื่อสิ้นสุดการผลิตหรือระหว่างการผลิตทำการบันทึกจำนวนของดีและเสีย จากข้อมูลนี้สามารถคำนวณ OEE ได้และด้านล่างนี้แสดงให้คุณเห็นตัวอย่างของการคำนวณ
กราฟนี้แสดงถึงความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน วิธีที่ดีที่สุดคือการเริ่มต้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ตัวอย่างเช่น :
- ความพร้อมใช้งาน = เวลาในการผลิต / เวลาในการโหลด ;
- ประสิทธิภาพ = เวลาที่ใช้จริง / เวลาการผลิต ;
- คุณภาพ = ผลผลิตที่ดี / ผลผลิตตามจริง

คำจำกัดความของ OEE : https://OEE.Coach
- ความสูญเปล่าเกี่ยวกับคุณภาพแสดงในรูปแบบของเวลาที่เสียไปกับการผลิตของออกมาแล้วเป็นของเสีย รายงานไม่ได้บอกว่าต้นทุนของเสียคือเท่าไหร่ ;
- เมื่อลดการหยุดเครื่องการพิจารณาเชิงกลยุทธ์มีความสำคัญ ตัวอย่างเช่น ถ้าเครื่องจักรไม่มีคอขวดและการหยุดเครื่องส่วนใหญ่มาจากการไม่มีออเดอร์ คำสั่งเฉพาะที่ทำให้เกิดการหยุดเครื่อง (เปลี่ยนรุ่นการผลิต, เครื่องหยุดพักตามแผน) จะไม่ส่งผลต่อเวลาหยุดเครื่อง มันจะไม่ทำให้ค่า OEE ของเครื่องจักรเปลี่ยน ;
- การเพิ่มขนาดล็อตผลิตจะเพิ่ม OEE เนื่องจากคุณเสียเวลากับการเปลี่ยนรุ่นการผลิตน้อยแต่มันจะไปส่งผลเรื่องปริมาณสต๊อคในคลังสินค้าและสต๊อคที่มีปริมาณมากในคลังสินค้าส่วนใหญ่จะไม่ใช่เรื่องที่ดี
