DataLyzer
MSA คืออะไร?

  1. Home
  2.  » 
  3. แหล่งความรู้
  4.  » MSA คืออะไร?

MSA คืออะไร ?

ข้อผิดพลาดจากระบบการวัดอาจส่งผลกระทบอย่างมากในการวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือวัด,การตรวจทดสอบของช่างเทคนิคและฟิกเจอร์ ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดระบบการวัด ส่วนประกอบเหล่านี้สามารถนำไปสู่ความผันแปรที่เกิดในระบบการวัดได้ทั้งนั้น ความผันแปรนี้ในระบบการวัดคือสิ่งที่จะสะท้อนแยกเป็นส่วนหนึ่งของความผันแปรโดยรวมทั้งหมดในการวิเคราะห์ SPC และไม่ส่งผลดีกับค่าสถิติที่อธิบายคุณภาพ เช่น Cp, Cpk, Pp, Ppk เป็นต้น โดยธรรมชาติทุกกระบวนการจะมีความผันแปรนี้แฝงอยู่ แหล่งความผันแปรเชื่อมโยงไปถึงลักษณะทางกลศาตร์ของกระบวนการกับวัตถุดิบและเสถียรภาพของคนทำงาน อย่างไรก็ตามก็เป็นไปได้ที่ความผันแปรจะมาจากกระบวนการวัดที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทำให้ความผันแปรทั้งหมดของกระบวนการเกิดเป็นความผันแปรผิดธรรมชาติ ความผันแปรนี้จะวิเคราะห์ด้วยกระบวนการ MSA ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการประยุกต์ใช้การควบคุมคุณภาพในทุกๆส่วน

ความผันแปรแยกประเภทได้ดังนี้:

ความแม่นยำ

  • Repeatability – ความสามารถในการวัดซ้ำของคนวัดหรืออุปกรณ์วัด
  • Reproducibility – ความสามารถในการวัดซ้ำระหว่างคนวัดหรือระหว่างเครื่องมือวัด

ความเที่ยงตรง

  • Stability – ความเที่ยงตรงเมื่อเวลาผ่านไป ;
  • Linearity – ความเที่ยงตรงเมื่อเปลี่ยนย่านวัด ;
  • Resolution – ความละเอียดเครื่องมือวัด ;
  • Bias – ค่าที่ต่างไปจากค่าจริง

การศึกษา Gage R&R จะวิเคราะห์ Repeatability และ Reproducibility

Gage Repeatability

ระบบการวัดจะให้ผลวัดเดียวกันหรือไม่?เมื่อคนวัดคนเดิมกับชิ้นงานเดิมโดยที่คนวัดเหมือน “คนตาบอด” ไม่ทราบว่าวัดชิ้นงานเดิมหลายครั้ง คนวัดมีความเสถียรในการวัดชิ้นงานเดิมหรือไม่เมื่อใช้เครื่องมือวัดเดิม? Repeatability ยังแสดงถึงความผันแปรของอุปกรณ์การวัดด้วยเพราะว่าหลายครั้งผลสะท้อนกลับไปเรื่องการออกแบบอุปกรณ์หรือเงื่อนไขการวัด

Gage Repeatability

ระบบการวัดจะให้ผลวัดเดียวกันหรือไม่?เมื่อมีสองหรือสามคนวัดชิ้นงานเดิมโดยที่คนวัดเหมือน “คนตาบอด” ไม่ทราบว่าวัดชิ้นงานเดิมหลายครั้ง ความสามารถในการวัดซ้ำระหว่างคนวัดเป็นอีกมิติของแหล่งความผันแปรของกระบวนการวัด Reproducibility ยังแสดงถึงความผันแปรของคนวัดด้วยเพราะว่านัยสำคัญส่วนใหญ่สะท้อนไปที่ความเสถียรของคนวัดที่อยู่ในระบบการวัด หนทางแก้ไขของ Reproducibility ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการฝึกอบรมคนวัด การศึกษา Gage R&R ปกติทำขึ้นจากสองส่วน : ความผันแปรจากเครื่องมือวัดและคนวัด สองส่วนนี้ส่งให้เรามุ่งไปสนใจการแก้ไขให้ถูกจุดในการซ่อมหรือปรับปรุงเครื่องมือวัดให้ดีขึ้น(EV-ความผันแปรจากเครื่องมือวัด) หรือฝึกอบรมคนวัดให้ใช้เครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้องหรือให้มีความเสถียรยิ่งขึ้น(AV-ความผันแปรจากคนวัด) ค่าพิกัด (USL-LSL) หรือค่าความผันแปรกระบวนการ(6 เท่าของค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่มาจากข้อมูล SPC ที่นิ่งแล้ว) หรือความผันแปรที่ได้จากการศึกษา(6 เท่าของค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลที่ได้จากการศึกษาระบบการวัด) ทั้งสองค่าสามารถใช้ในการคำนวณสัดส่วนที่เกิดจากความผิดพลาดจากระบบการวัด ข้อแนะนำสำหรับค่าที่ยอมรับได้ของ Repeatability และ Reproducibility (%R&R) ความผิดพลาดต้องน้อยกว่า 10% , ความผิดพลาดของค่าวัดที่ยอมรับได้คือ 10%-30% เกณฑ์การยอมรับระบบการวัดจะให้ความสำคัญกับต้นทุนของการใช้เครื่องมือวัดเป็นสำคัญ ต้นทุนการซ่อมแซมหรือการปรับปรุงความสามารถกระบวนการที่เป็นอยู่ ถ้าหากความผิดพลาดของค่าวัดมากกว่า 30% ระบบการวัดต้องการการปรับปรุง (ขึ้นอยู่กับความสามารถกระบวนการด้วย) ทุกๆการดำเนินการเพื่อระบุปัญหาและทำมันให้ถูกต้อง

(ที่มาคือ คู่มือ AIAG – MSA)